Follow us

This is default featured slide 1 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

This is default featured slide 2 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

This is default featured slide 3 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

This is default featured slide 4 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

This is default featured slide 5 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

วันศุกร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2560

Review ExCell
































วันพุธที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2560

ไจแอ้นท์ ...... หลอดเลือดอักเสบ




Giant cell arteritis ... หลอดเลือดอักเสบชนิดหนึ่ง ทำไมไจแอ้นท์ อย่าคิดว่ามันไกลตัวเราพบอยู่บ่อยๆนะครับมารู้จักสักนิด
โรคหลอดเลือดอักเสบ เป็นโรคที่เกิดการอักเสบที่ผนังหลอดเลือด เราแบ่งออกเป็นหลายชนิดตามขนาดของหลอดเลือดแดง ใหญ่ กลาง เล็ก เพราะอาการของแต่ละอันไม่เหมือนกัน เมื่อมีการอักเสบเกิดขึ้น อวัยวะที่หลอดเลือดนั้นไปเลี้ยงก็จะผิดปกติ หลอดเลือดก็จะหนาตัว ส่งผลทำให้ขาดเลือดได้
โรคไจแอ้นท์เซลนี้ คือ โรคหลอดเลือดขนาดใหญ่อักเสบ เพียงแต่พฤติกรรมของโรคมาเกิดที่แขนงหลอดเลือดแดงใหญ่ที่คอ (external carotid artery) ที่ชื่อว่า หลอดเลือด เทมโพรัล (temporal) ที่เราเห็นหลอดเลือดนูนเวลาขบกราม เวลาโกรธ บริเวณขมับนั่นแหละครับ จึงมีอีกชื่อว่า temporal arteritis
ด้วยความที่หลอดเลือดนี้ส่งแขนงไปเลี้ยงกล้ามเนื้อและอวัยวะบนศีรษะและใบหน้านอกกระโหลก อาการที่เกิดจึงเกิดกับศีรษะและใบหน้า คือ อาการปวดศีรษะรุนแรง มักจะเกิดเฉียบพลันรุนแรง ปวดกราม ปวดลิ้น อาการรุนแรง เรื้อรัง ไม่หาย บางคนอาจคลำหลอดเลือดที่ว่าได้ชัดเจน
อาจมีอาการปวดไหล่ ปวดสะโพก ปวดร้าวตามตัวที่เรียกว่า polymyalgia rheumatica ร่วมด้วย (ทั้งสองโรคนี้มีอาการแสดงใกล้กันมากและพบร่วมกันได้บ่อย)
สำหรับน้องๆที่สนใจ สามารถโหลด 1990 ACR criteria for Giant Cell Arteritis ได้จาก www.rheumatology.org นะครับ..ฟรี
อ้าว...อย่างนี้ก็เป็นมากมายเลยน่ะสิ อาการแบบนี้ ... ยังครับยัง จะคิดว่าเป็นต้องมีมากกว่านี้ ข้อสำคัญคือ โรคนี้ร้อยละ 95 จะเกิดในกลุ่มผู้สูงวัย ตามเกณฑ์คือ 50 ปีขึ้นไป แต่ตัวเลขเฉลี่ยก็อยู่ที่ 65-75 ปีนะครับ หนุ่มๆสาวๆคิดถึงน้อย เอ้า อ่านประโยคนี้ใครคิดว่าตัวเองเป็นบ้าง
ยังไม่พอ .. ต้องมีหลักฐานของการอักเสบ คือ ค่าเลือด ESR (erythrocyte sedimentation rate) หรือ CRP (C-reactive protein) ต้องขึ้นสูงด้วย บ่งบอกว่ามีการอักเสบจริง (ตามเกณฑ์ก็ ESR เกิน 50)
และที่สำคัญต้องมีการตัดชิ้นเนื้อของหลอดเลือดเพื่อวินิจฉัย หลอดเลือดนั้นก็คือหลอดเลือดเทมโพรัลที่โป่งพองนั่นแหละครับ ตามตำราว่าทำไม่ยาก แต่ผมว่าคนไข้ก็คงไม่อยากทำ ปัจจุบันมีการใช้ MRI หลอดเลือด หรือการใช้ PET-CT scan เพื่อดูความผิดปกติของหลอดเลือดบริเวณนั้นได้ ...แต่ไม่ได้เป็นมาตรฐานเหมือนการตัดชิ้นเนื้อนะครับ... และตัดชิ้นเนื้อก็จะเป็นเซลอักเสบที่ตัวใหญ่ๆ เป็นที่มาของชื่อ Giant Cell นั่นเอง (granulomatous and Giant cell)
ในทางปฏิบัติส่วนมากก็ไม่ได้ตัดชิ้นเนื้อหรือเอกซเรย์ครับ ถ้ามีความเสี่ยง อาการและ อาการแสดงเข้าได้ ไม่มีสาเหตุปวดหัวอื่นๆ ก็ให้ยาได้ ข้อสำคัญอีกประการคือ โรคนี้มักจะมีภาวะที่ตามมาคือ หลอดเลือดที่ตาขาดเลือด ทำให้การมองเห็นของตาข้างนั้นเสียไปถาวร การรักษาไปก่อนจึงเป็นที่ยอมรับ (การตัดชิ้นเนื้อหลังจากเริ่มยาก็ยังพอวินิจฉัยได้) ใช้ยา prednisolone ขนาดสูง 8-12 เม็ดต่อวัน ดูอาการสองสัปดาห์ถ้าตอบสนองดีก็ลดขนาดยาลงได้ ซึ่งส่วนใหญ่ตอบสนองดีมากๆเลย
ในกรณีเกิดซ้ำก็อาจรักษายาวนานขึ้น หรือใช้ยาลดการเกิดซ้ำ คือยา methotrexate ก็สามารถลดขนาดยาสเตียรอยด์ลงได้ และลดโอกาสการเกิดซ้ำได้
Toclilizumab เป็นยาตัวใหม่ที่ทางองค์การอาหารและยาของอเมริกาประกาศใช้ในการรักษาเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา เป็นยาที่ออกฤทธิ์ตรงจุดที่เซลอักเสบทำงาน (interleukin 6) เพื่อใช้ในรายที่รักษายาก ก่อนหน้านี้ใช้รักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ตอนนี้ขยับมาใช้ในโรคนี้ แต่ยังต้องระมัดระวังการติดเชื้อรุนแรง และยายังราคาแพงครับ
อันนี้เป็นอ้างอิง เขียนดีมากสั้นๆ รีวิวเรื่อง Giant Cell Arteritis และ Polymyalgia Rheumatica ที่ดีมาก เอาไปใช้ได้เลยครับ
JAMA.2016;315(22):2442-245
ขอบคุณข้อมูลจากเพจ อายุรศาสตร์ ง่ายนิดเดียว 

คำถามมา